โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 94 – ข่าวลือกับความเสี่ยง
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ในชีวิต ย่อมมีความเสี่ยง (Risk) ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางการแพทย์ (Medical intervention) แม้ว่า (Regardless) จะมีการทดสอบและเฝ้าระวัง (Monitor) อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่ข่าวลือ (Rumor) เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน (Vaccination) บางเรื่องเป็นเพียงเรื่องไม่จริง (False) เท่านั้น
ในการทำความเข้าใจเรื่องความเสี่ยง เราต้องใช้ข้อมูล ไม่ใช่คำบอกเล่าปากต่อปาก (Hearsay) และข่าวลือแรกที่เราจะพูดถึงคือความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับสหสัมพันธ์ (False correlation) ระหว่างการฉีดวัคซีนกับโรคเพ้อฝัน (Autism) ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะยังไม่มีประจักหลักฐาน (Evidence) เกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าว
การศึกษาหลายชิ้น (Multiple studies) ที่ครอบคลุม (Cover) เด็กกว่า 1.2 ล้านคนได้เปิดเผย (Reveal) ให้เห็นว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีนกับโรคเพ้อฝัน นอกจากนี้ การศึกษาเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่า ชิ้นส่วนของเชื้อโรค (Microbe particle) กับ การฉีดวัคซีนหลายชนิด ก็ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการในกลุ่มโรคเพ้อฝัน (Autism spectrum disorder)
อีกทั้งในขณะที่อัตราการเกิดโรคเพ้อฝันได้เพิ่มขึ้น (Risen) ในช่วงหลายคริสตทศวรรษที่ผ่านมา การได้รับการฉีดวัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันกลับลดลง ในปัจจุบันมีส่วนประกอบทางภูมิคุ้มกัน (Immunological component) ไม่ถึง 200 ชิ้นในวัคซีน 14 ชนิดที่ใช้ในปัจจุบัน
แต่ในปี ค.ศ. 1980 มีส่วนประกอบดังกล่าว มากกว่า 3,000 ชิ้นส่วนในวัคซีน 7 ชนิดที่ใช้ ดังนั้นแม้ว่าจำนวนการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กจะเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณ (Load) ทางภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับกลับลดลง
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ที่บ่งบอกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ในวัคซีน เช่น Thimerosal [ปรอท (Mercury) ที่เป็นสารกันเสีย] มีความเกี่ยวข้องกับโรคเพ้อฝัน สารปรอทดังกล่าวแตกต่างจากสารปรอทที่ทำให้เกิดพิษ (Poinson) และวัคซีนส่วนมากในปัจจุบันก็ไม่ประกอบ (Contain) ด้วย Thimerosal อีกต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สารฆ่าเชื้อและกันเน่า (Formaldehyde) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตวัคซีน โดยจะมีสารดังกล่าวเหลือตกค้าง (Left over) ในปริมาณเล็กน้อย (Tiny) ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final) ซึ่งปริมาณนี้น้อยมาก (Slight) เมื่อเทียบกับปริมาณสารดังกล่าว ที่พบตามธรรมชาติ (Natural) ในร่างกายของเราเอง
ส่วนประกอบในวัคซีน อาจทำให้บางคนเกิดอาการแพ้ (Allergic) แต่ไม่ได้หมายความ (Imply) ว่าวัคซีนจะไม่ปลอดภัย (Unsafe) ตัวอย่างเช่น แม้ถั่วลิสง (Peanut) จะปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก แต่บางคนยังคงมีอาการแพ้ที่รุนแรง (Dangerous reaction) เมื่อกินถั่วลิสงเข้าไป
แหล่งข้อมูล –